วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จังหวัดเชียงราย

     จังหวัดเชียงราย
  
        เชียงราย เป็นชื่อจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย อาณาเขตทิศเหนือจรดแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกัน ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกจดทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่

     จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญเมืองหนึ่งของประเทศไทย และเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีน

 
     พัฒนาการทางประวัติศาสตร์



        ปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า พ่อขุนเม็งรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงชัยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงหม่จนถึง พ.ศ. 1860 จึงสวรรคตเพราะถูกฟ้าผ่า
       สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพ่อขุนเม็งรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพระไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
       ครั้นต่อมาเมื่อแคว้นล้านนาไทยตกไปอยู่ในปกครองของพม่า พม่าได้ตั้งขุนนางมอญคือพระยาชิตวงศ์มาปกครองเมืองเชียงราย ซึ่งมอญก็คงครองเมืองเชียงรายสืบต่อ ๆ กันมาจนถึง พ.ศ. 2329 ปีนั้น พระยายองกับพระยาแพร่คิดด้วยกันจะสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพมหานคร จึงจับเอาปะกามณี แม่ทัพที่พม่าตั้งให้ปกครองเมืองเชียงราย เป็นเชลยแล้วนำตัวส่งลงมาถวายยังกรุงเทพมหานคร
        ต่อมา พ.ศ. 2330 พม่ายกกองทัพจากแคว้นเชียงตุงลงมา ตีได้เมืองเชียงแสนและเมืองเชียงราย ทัพเมืองฝางจึงเข้าสมทบทัพพม่า และทัพพม่านี้เดินทางผ่านเมืองพะเยาลงมาเอาเมืองนครลำปาง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ร้างไปถึง พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองโดยให้สังกัดเมืองเชียงใหม่ กระทั่ง พ.ศ. 2453 จึงมีพระราชบัญญัติยกเมืองเชียงรายขึ้นเป็นจังหวัด






 สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ


        จังหวัดเชียงรายมีภูมิประเทศเป็นป่าไม้และเทือกเขาสูง ทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากทะเลน้อยมาก และยังผลให้ฤดูร้อนกับฤดูหนาวมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก คือ ประมาณเดือนธันวาคมของทุกปีอุณหภูมิจะต่ำมาก เฉลี่ยประมาณ 8.7 องศาเซลเซียส และในเดือนเมษายนจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง โดยใน พ.ศ. 2541 เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดของจังหวัดเชียงราย คือ 36.4 องศาเซลเซียส


สัญลักษณ์ประจำจังหวัด




ตราประจำจังหวัด : รูปช้างสีขาวใต้เมฆ หมายถึง นิมิตของความรุ่งเรืองในอดีต เพราะพ่อขุนเม็งรายเคยใช้ช้างเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกปราบศัตรูจนได้ชัยชนะ นอกจากนี้ ช้างยังเป็นชนวนให้พ่อขุนเม็งร้ายมาก่อร่างสร้างเมืองนี้ขึ้นอีกด้วย โดยว่ากันว่า ช้างทรงของพ่อขุนเม็งรายหลุดหายไปจากหลักที่ผูกไว้ พ่อขุนเม็งรายติดตามไปจนถึงภูมิประเทศอันบริบูรณ์ริมน้ำกก จึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้น ณ ที่นั้น[3


              ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพวงแสด (Pyrostegia venusta)


            ต้นไม้ประจำจังหวัด: กาสะลองคำ (Radermachera ignea) โดยเป็นไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานให้เป็นไม้ประจำจังหวัดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี[3]


คำขวัญประจำจังหวัด: เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

สถานที่ท่องเที่ยว

วัดร่องขุ่น


พระตำหนักดอยตุง


ภูชี้ฟ้าวัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง)


พระธาตุดอยตุง

วัดร่องขุ่น ฝีมือ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์


พระธาตุ ๙ จอม


เสาสะดือเมืองเชียงราย


พระตำหนักดอยตุง


สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เชียงราย


สามเหลี่ยมทองคำ (สบรวก)


ย่านการค้าชายแดน (อำเภอแม่สาย)


วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกขุนกรณ์ (น้ำตกขุนกรณ์) อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย


วนอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า (ภูชี้ฟ้า) อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย


ดอยแม่สลอง (บ้านสันติคีรี)


ดอยหัวแม่คำ


ดอยวาวี


ผาตั้ง


เมืองโบราณเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย


วัดพระธาตุเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย


วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย


วัดพระธาตุสองพี่น้อง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย